อยู่เมืองไทยเคยเที่ยวพิพิธภัณฑ์กับเขาบ้างมั้ย? อดเอ่ยถามตัวเองไม่ได้ คำตอบคือ… กระดิกนิ้วได้ครั้งสองครั้งนิ้วก็แทบไม่ขยับแล้ว แหม… ก็แต่ละครั้ง ที่เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์น่ะ เดินลากเท้าไม่กี่ก้าวก็วนรอบจบกระบวนความ เดินออกมาแล้ว… ไม่เห็นจะน่าสนใจเท่าไหร่เลย
แต่คราวนี้ฉันกับยูลีมุ่งมั่นมา พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาของเม็กซิโก ซิตี้ แต่เช้า… เหตุเพราะโดนกล่อมโดยครอบครัวของมาร์ติน ทำนองว่ามาถึงเม็กซิโก ซิตี้แล้ว ไม่ได้เหยียบเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ของเขาละก็ เป็นความผิดแสนสาหัสที่ไม่ควรให้อภัยตัวเองไปอย่างยิ่ง โห… อะไรจะขนาดนั้น
พิพิธภัณฑ์ มานุษยวิทยาตั้งอยู่ในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ชื่อว่าจาปูเต็ลเพ็ค (Chapultepec) ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสวนสัตว์ และ ปราสาท อีกด้วย ฟังแค่นี้ก็คงจะรู้แล้วว่าเจ้าสวนสาธารณะชื่อแปลกนี้เป็นแหล่งพักผ่อนขนาด ใหญ่มหาศาลแค่ไหนสำหรับชาวเม็กซิกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ปัจจุบัน… หากเป็นเช่นนี้ตั้งแต่สมัยชาวแอซเทคแล้ว…. เห็นมั้ยว่าหนีไม่พ้นชาวแอซเทคอีกแล้ว จะหนีไปได้อย่างไร ในเมื่อชื่อแปลก ๆ ของสวนนี้เป็นภาษาชาวแอซเทค แปลว่า “ภูเขาตั๊กแตน”
วันแรกของปี ใหม่ ผู้มาเยือนพิพิธภัณฑ์ไม่ต้องเสียค่าเข้าชม…. ไม่อยากบอกเลยว่า แค่นี้ก็รู้สึกดีเป็นบ้า… เป็นความรู้สึกซ่อนในเหลือบลึก ๆ ที่อยากจะได้อะไรที่มันฟรี ๆ กับเขาบ้าง
พิพิธภัณฑ์ที่นี่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก… ครอบครัวของมาร์ตินบอกพวกเราอย่างภาคภูมิใจ ตรงป้ายชื่อทางเข้ามีแท่งหินสกัดขนาดใหญ่ตั้งวางอยู่… สะดุดตาตั้งแต่เห็น และราวจะประกาศให้ผู้มาเยือนเตรียมตัวเตรียมใจว่าที่เห็นอยู่ตอนนี้ด้านนอก น่ะเป็นเพียงเศษเสี้ยวชิ้นเล็ก ๆ ของความเป็นมาของที่นี่ เมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์แล้วจะได้รู้
แท่งหินสกัดขนาดใหญ่คือ ตลาล็อค (Tlaloc) เทพเจ้าแห่งฝนของชาวแอซเทค เมื่อแรกที่ค้นพบนั้นจมดิน อยู่ไม่ไกลจากเม็กซิโก ซิตี้เท่าไหร่ ก่อนจะทำการขนย้ายมาตั้งวางที่นี่ เล่ากันว่าตอนที่ขนเทพเจ้าแห่งฝนเข้ามาในเมือง ฝนได้ตกเทลงมาอย่างหนัก ทั้งที่เมืองแล้งจัดมาเป็นเวลานาน ช่างบังเอิญเสียจริง
พิพิธภัณฑ์ ที่นี่ผิดคาดจากที่วาดภาพไว้ จากที่คิดว่าคงจะใช้เวลาเยือนเพียงชั่วแป๊ป กลับเนิ่นนานกว่าที่คิด ไว้อยู่มาก คงเป็นเพราะประวัติศาสตร์ของที่นี่มีที่มาที่ไปอย่างไร ได้รับการจัดแสดงอย่างดีเยี่ยม จากชนเผ่าโอลเมค (Olmecs) ชนเผ่ามายา (Maya) …กระทั่งถึงชนเผ่าแอซเทค (Aztecs) ทั้งหมดจัดแสดงเป็นห้อง ๆ แบ่งแยกยุคสมัยอย่างชัดเจน บริเวณชั้นล่างมีทั้งสิ้น 12 ห้อง แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมข องเม็กซิโกในยุคแรก ส่วนชั้นบนมี 10 ห้อง แสดงศิลปวัฒนธรรมยุคใหม่ วิธีการนำเสนอของเขาที่เรียงร้อยอย่างสอดคล้อง ทำให้ง่ายต่อการจินตนาการตาม และที่โปรดมาก ๆ คือ แต่ละห้องได้ทำการจำลองโบราณสถานที่เด่น ๆ สำคัญ ๆ ในยุคนั้น ๆ ไว้ในส่วนที่เป็นสวนเปิดด้านหลัง เป็นการช่วยเติมเต็มจินตนาการแก่ผู้มาเยือนให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น (อย่างมาก ๆ เลยทีเดียว)
ปฏิทินหิน
Calendar Stone… ปฏิทินหินของชาวแอซเทค … ฉันยืนมองดูแผ่นหินสกัดขนาดใหญ่ของจริงตรงหน้าชัด ๆ คล้ายนาฬิกา… ฉันรู้สึกอย่างนั้น ยิ่งมีลายสามเหลี่ยมที่เส้นปลายฐานสองข้างด้านล่างม้วนเป็นเส้นตวัดออกด้านนอกสี่จุดแบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นสี่ส่วน ๆ เท่า ๆ กัน บน ล่าง ซ้าย ขวา คล้ายจุดบอกเวลาบนนาฬิกา 6 นาฬิกา 9 นาฬิกา 12 นาฬิกา และ 15 นาฬิกา ไม่เท่านั้น ยังมีลายสามเหลี่ยมที่มีขนาดเล็กกว่าอีกสี่จุดแบ่งกึ่งกลางของพื้นที่สี่ส่วนกลายเป็น 8 ส่วน… คล้ายนาฬิกาบอกเวลา
แต่จริง ๆ แล้ว สำหรับคนศึกษาปฏิทินหิน จะบอกว่าไอ้ลายสามเหลี่ยมที่ว่าไม่ว่าจะขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ คือเปลวแสงอาทิตย์ต่างหาก… ก็ตรงกลางเป็นสุริยเทพ รอบ ๆ ก็ต้องเป็นแสงอาทิตย์สิ… แหม… เข้าเค้าเชียว ทำเอาฉันนึกถึงภาพวาดดวงอาทิตย์ของตัวเองสมัยเด็กยันโตเอาปานนี้ ที่ยังคงวาดดวงกลม ๆ แล้วก็สบัดปลายดินสอเป็นขีด ๆ รอบดวงกลม ๆ นั่นแหละ… พระอาทิตย์ละ
ตรงกลางด้านในสุดคือสุริยเทพ โตนาติอู (Tonatiuh) ใบหน้านั้นแยกเขี้ยว ยิงฟัน คาบมีดสำหรับฆ่าคนไปบูชายัญ (บรื๋ออ)
ถัดจากตรงกลางวงแหวนที่ 1 ที่ล้อมรอบดวงหน้าของสุริยเทพ โตนาติอู แบ่งออกเป็นสี่ส่วน แสดงถึงยุคสมัยทั้งสี่ ตามตำนานความเชื่อของชาวแอซเทค ที่เชื่อกันว่าสี่เหลี่ยมทั้งสี่ช่องเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงจุดจบของโลกในยุคก่อนหน้านี้ ได้แก่ สัตว์ป่า ลม ฝน และน้ำ ชาวแอซเทคเชื่อกันว่าโลกที่เขาอาศัยอยู่เป็นโลกยุคที่ห้า และเป็นโลกยุคสุดท้าย
วงแหวนที่ 2 แบ่งออกเป็น 20 ช่อง เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทน 20 วันในหนึ่งเดือน
งู
จิ้งจก
บ้าน
ลม
จระเข้
ดอกไม้
ฝน
หินภูเขาไฟ
ยุคสมัย
อีแร้ง
นกอินทรี
เสือจากัวร์
ลำอ้อย
สมุนไพร
ลิง
หมาไม่มีขน
น้ำ
กระต่าย
กวาง
หัวกระโหลก
ยิ่งดูรูปภาพเปรียบเทียบกับคำแปล…ยิ่งรู้สึกสอดคล้อง
สำหรับวงแหวนที่ 3 มีลายสามเหลี่ยมที่ฉันบอกก่อนหน้านี้ว่าคล้ายจุดบอกเวลาบนนาฬิกา หากหมายถึงเปลวแสงอาทิตย์ และวงแหวนรอบนอกสุดเป็นงูใหญ่สองตัวหันหน้าเข้าหากัน ร่างถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ประกอบด้วยสัญลักษณ์เปลวไฟ งวงช้าง และขาของเสือจากัวร์
หลังจากเห็น Calendar Stone ภายในพิพิธภัณฑ์แล้ว พอออกไปเดินในสวนสาธารณะจาปูลเต็ลเพ็ค มีพ่อค้ามาเสนอขายปฏิทินหินของชาวแอซเทค ยูลีก็ไม่รอช้าที่จะจ่ายเงินซื้อเก็บไว้เป็นที่ระลึกทันที แม้เจ้าปฏิทินนั้นจะเห็นได้ชัดว่าหล่อมาจากปูนปาสเตอร์ และง่ายต่อการแตกหักยิ่งนักก็ตาม
อยู่เมืองไทยเคยเที่ยวพิพิธภัณฑ์กับเขาบ้างมั้ย? อดเอ่ยถามตัวเองไม่ได้ คำตอบคือ… กระดิกนิ้วได้ครั้งสองครั้งนิ้วก็แทบไม่ขยับแล้ว แหม… ก็แต่ละครั้ง ที่เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์น่ะ เดินลากเท้าไม่กี่ก้าวก็วนรอบจบกระบวนความ เดินออกมาแล้ว… ไม่เห็นจะน่าสนใจเท่าไหร่เลย
แต่คราวนี้ฉันกับยูลีมุ่งมั่นมา พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาของเม็กซิโก ซิตี้ แต่เช้า… เหตุเพราะโดนกล่อมโดยครอบครัวของมาร์ติน ทำนองว่ามาถึงเม็กซิโก ซิตี้แล้ว ไม่ได้เหยียบเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ของเขาละก็ เป็นความผิดแสนสาหัสที่ไม่ควรให้อภัยตัวเองไปอย่างยิ่ง โห… อะไรจะขนาดนั้น
พิพิธภัณฑ์ มานุษยวิทยาตั้งอยู่ในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ชื่อว่าจาปูเต็ลเพ็ค (Chapultepec) ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสวนสัตว์ และ ปราสาท อีกด้วย ฟังแค่นี้ก็คงจะรู้แล้วว่าเจ้าสวนสาธารณะชื่อแปลกนี้เป็นแหล่งพักผ่อนขนาด ใหญ่มหาศาลแค่ไหนสำหรับชาวเม็กซิกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ปัจจุบัน… หากเป็นเช่นนี้ตั้งแต่สมัยชาวแอซเทคแล้ว…. เห็นมั้ยว่าหนีไม่พ้นชาวแอซเทคอีกแล้ว จะหนีไปได้อย่างไร ในเมื่อชื่อแปลก ๆ ของสวนนี้เป็นภาษาชาวแอซเทค แปลว่า “ภูเขาตั๊กแตน”
วันแรกของปี ใหม่ ผู้มาเยือนพิพิธภัณฑ์ไม่ต้องเสียค่าเข้าชม…. ไม่อยากบอกเลยว่า แค่นี้ก็รู้สึกดีเป็นบ้า… เป็นความรู้สึกซ่อนในเหลือบลึก ๆ ที่อยากจะได้อะไรที่มันฟรี ๆ กับเขาบ้าง
พิพิธภัณฑ์ที่นี่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก… ครอบครัวของมาร์ตินบอกพวกเราอย่างภาคภูมิใจ ตรงป้ายชื่อทางเข้ามีแท่งหินสกัดขนาดใหญ่ตั้งวางอยู่… สะดุดตาตั้งแต่เห็น และราวจะประกาศให้ผู้มาเยือนเตรียมตัวเตรียมใจว่าที่เห็นอยู่ตอนนี้ด้านนอก น่ะเป็นเพียงเศษเสี้ยวชิ้นเล็ก ๆ ของความเป็นมาของที่นี่ เมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์แล้วจะได้รู้
แท่งหินสกัดขนาดใหญ่คือ ตลาล็อค (Tlaloc) เทพเจ้าแห่งฝนของชาวแอซเทค เมื่อแรกที่ค้นพบนั้นจมดิน อยู่ไม่ไกลจากเม็กซิโก ซิตี้เท่าไหร่ ก่อนจะทำการขนย้ายมาตั้งวางที่นี่ เล่ากันว่าตอนที่ขนเทพเจ้าแห่งฝนเข้ามาในเมือง ฝนได้ตกเทลงมาอย่างหนัก ทั้งที่เมืองแล้งจัดมาเป็นเวลานาน ช่างบังเอิญเสียจริง
พิพิธภัณฑ์ ที่นี่ผิดคาดจากที่วาดภาพไว้ จากที่คิดว่าคงจะใช้เวลาเยือนเพียงชั่วแป๊ป กลับเนิ่นนานกว่าที่คิด ไว้อยู่มาก คงเป็นเพราะประวัติศาสตร์ของที่นี่มีที่มาที่ไปอย่างไร ได้รับการจัดแสดงอย่างดีเยี่ยม จากชนเผ่าโอลเมค (Olmecs) ชนเผ่ามายา (Maya) …กระทั่งถึงชนเผ่าแอซเทค (Aztecs) ทั้งหมดจัดแสดงเป็นห้อง ๆ แบ่งแยกยุคสมัยอย่างชัดเจน บริเวณชั้นล่างมีทั้งสิ้น 12 ห้อง แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมข องเม็กซิโกในยุคแรก ส่วนชั้นบนมี 10 ห้อง แสดงศิลปวัฒนธรรมยุคใหม่ วิธีการนำเสนอของเขาที่เรียงร้อยอย่างสอดคล้อง ทำให้ง่ายต่อการจินตนาการตาม และที่โปรดมาก ๆ คือ แต่ละห้องได้ทำการจำลองโบราณสถานที่เด่น ๆ สำคัญ ๆ ในยุคนั้น ๆ ไว้ในส่วนที่เป็นสวนเปิดด้านหลัง เป็นการช่วยเติมเต็มจินตนาการแก่ผู้มาเยือนให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น (อย่างมาก ๆ เลยทีเดียว)
อยู่เมืองไทยเคยเที่ยวพิพิธภัณฑ์กับเขาบ้างมั้ย? อดเอ่ยถามตัวเองไม่ได้ คำตอบคือ… กระดิกนิ้วได้ครั้งสองครั้งนิ้วก็แทบไม่ขยับแล้ว แหม… ก็แต่ละครั้ง ที่เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์น่ะ เดินลากเท้าไม่กี่ก้าวก็วนรอบจบกระบวนความ เดินออกมาแล้ว… ไม่เห็นจะน่าสนใจเท่าไหร่เลย
แต่คราวนี้ฉันกับยูลีมุ่งมั่นมา พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาของเม็กซิโก ซิตี้ แต่เช้า… เหตุเพราะโดนกล่อมโดยครอบครัวของมาร์ติน ทำนองว่ามาถึงเม็กซิโก ซิตี้แล้ว ไม่ได้เหยียบเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ของเขาละก็ เป็นความผิดแสนสาหัสที่ไม่ควรให้อภัยตัวเองไปอย่างยิ่ง โห… อะไรจะขนาดนั้น
พิพิธภัณฑ์ มานุษยวิทยาตั้งอยู่ในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ชื่อว่าจาปูเต็ลเพ็ค (Chapultepec) ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสวนสัตว์ และ ปราสาท อีกด้วย ฟังแค่นี้ก็คงจะรู้แล้วว่าเจ้าสวนสาธารณะชื่อแปลกนี้เป็นแหล่งพักผ่อนขนาด ใหญ่มหาศาลแค่ไหนสำหรับชาวเม็กซิกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ปัจจุบัน… หากเป็นเช่นนี้ตั้งแต่สมัยชาวแอซเทคแล้ว…. เห็นมั้ยว่าหนีไม่พ้นชาวแอซเทคอีกแล้ว จะหนีไปได้อย่างไร ในเมื่อชื่อแปลก ๆ ของสวนนี้เป็นภาษาชาวแอซเทค แปลว่า “ภูเขาตั๊กแตน”
วันแรกของปี ใหม่ ผู้มาเยือนพิพิธภัณฑ์ไม่ต้องเสียค่าเข้าชม…. ไม่อยากบอกเลยว่า แค่นี้ก็รู้สึกดีเป็นบ้า… เป็นความรู้สึกซ่อนในเหลือบลึก ๆ ที่อยากจะได้อะไรที่มันฟรี ๆ กับเขาบ้าง
พิพิธภัณฑ์ที่นี่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก… ครอบครัวของมาร์ตินบอกพวกเราอย่างภาคภูมิใจ ตรงป้ายชื่อทางเข้ามีแท่งหินสกัดขนาดใหญ่ตั้งวางอยู่… สะดุดตาตั้งแต่เห็น และราวจะประกาศให้ผู้มาเยือนเตรียมตัวเตรียมใจว่าที่เห็นอยู่ตอนนี้ด้านนอก น่ะเป็นเพียงเศษเสี้ยวชิ้นเล็ก ๆ ของความเป็นมาของที่นี่ เมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์แล้วจะได้รู้
แท่งหินสกัดขนาดใหญ่คือ ตลาล็อค (Tlaloc) เทพเจ้าแห่งฝนของชาวแอซเทค เมื่อแรกที่ค้นพบนั้นจมดิน อยู่ไม่ไกลจากเม็กซิโก ซิตี้เท่าไหร่ ก่อนจะทำการขนย้ายมาตั้งวางที่นี่ เล่ากันว่าตอนที่ขนเทพเจ้าแห่งฝนเข้ามาในเมือง ฝนได้ตกเทลงมาอย่างหนัก ทั้งที่เมืองแล้งจัดมาเป็นเวลานาน ช่างบังเอิญเสียจริง
พิพิธภัณฑ์ ที่นี่ผิดคาดจากที่วาดภาพไว้ จากที่คิดว่าคงจะใช้เวลาเยือนเพียงชั่วแป๊ป กลับเนิ่นนานกว่าที่คิด ไว้อยู่มาก คงเป็นเพราะประวัติศาสตร์ของที่นี่มีที่มาที่ไปอย่างไร ได้รับการจัดแสดงอย่างดีเยี่ยม จากชนเผ่าโอลเมค (Olmecs) ชนเผ่ามายา (Maya) …กระทั่งถึงชนเผ่าแอซเทค (Aztecs) ทั้งหมดจัดแสดงเป็นห้อง ๆ แบ่งแยกยุคสมัยอย่างชัดเจน บริเวณชั้นล่างมีทั้งสิ้น 12 ห้อง แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมข องเม็กซิโกในยุคแรก ส่วนชั้นบนมี 10 ห้อง แสดงศิลปวัฒนธรรมยุคใหม่ วิธีการนำเสนอของเขาที่เรียงร้อยอย่างสอดคล้อง ทำให้ง่ายต่อการจินตนาการตาม และที่โปรดมาก ๆ คือ แต่ละห้องได้ทำการจำลองโบราณสถานที่เด่น ๆ สำคัญ ๆ ในยุคนั้น ๆ ไว้ในส่วนที่เป็นสวนเปิดด้านหลัง เป็นการช่วยเติมเต็มจินตนาการแก่ผู้มาเยือนให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น (อย่างมาก ๆ เลยทีเดียว)
ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 ตอนที่ 5 ตอนที่ 6 ตอนที่ 7 ตอนที่ 8 ตอนที่ 9 ตอนที่ 10 ตอนที่ 11 ตอนที่ 12 ตอนที่ 13 ตอนที่ 14 ตอนที่ 15 ตอนที่ 16 ตอนที่ 17 บทส่งท้าย
Copyright ©2011 kanakacha.blogspot.com