31 กรกฎาคม 2555

เที่ยวเม็กซิโก ตอนที่ 17

มอนเตร์เรย์ (Monterrey)

มอนเตร์เรย์เป็นเมืองอุตสาหกรรม และเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สามของที่นี่

ภาพจาก en.wikipedia.org

ฉันกับยูลีไม่ได้สนใจเมืองนี้อะไรนักหนา แต่เพื่อนชาวเม็กซิกันที่ช่วยกันวาดเส้นทางเดินทางให้ฉันกับยูลี จะต้องลากให้เราผ่านเมืองนี้ก่อนถึงลาเรโดทุกที

“ก็มันใกล้ ๆ แวะดูหน่อยน่า” เสียงมักจะออกแนวโทน ๆ นี้

ฉันกับยูลีนั่งรถเดินทางจากเมืองซาคาเทคัสไปถึงเมืองมอนเตร์เรย์ย์เอาตีสองครึ่ง เดินวนเวียนสักครู่ ก็มีเจ้าหน้าที่ขายตั๋วรถบริษัทหนึ่งเข้ามาช่วยเหลือ หาซื้อตั๋วรถกลับไปลาเรโดให้ แต่กว่ารถจะออกก็เย็น ๆ โน่น เขาแนะนำให้เราใช้ตั๋วเข้าไปพักในห้องผู้โดยสาร VIP ที่มีการปิดเป็นสัดเป็นส่วน มียามยืนเฝ้าเข้มงวดตรวจคนเข้าออกตลอดเวลา ต้องเฉพาะผู้โดยสารที่มีตั๋วรถเท่านั้น ที่จะเข้าไปข้างในได้

เท่านี้ก็สบายแล้ว ห้องภายในกว้างขวาง ติดแอร์เย็นสบาย ทั้งมีผู้โดยสารน้อยมาก ฉันกับยูลีเลยนอนพักเอาแรงกันอย่างสบายใจ

รุ่งเช้า ฉันกับยูลีออกสำรวจตัวเมือง

มอนเตร์เรย์เป็นเมืองที่สกปรก… ฉันกับยูลีลงความเห็นตรงกัน คงเป็นเพราะเป็นเมืองอุตสาหกรรม ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว จึงไม่มีการดูแลเรื่องนี้ แต่ที่น่าอิจฉามาก ๆ คือ ที่นี่มีรถไฟใต้ดินด้วยล่ะ…. โอ้โห…อเมซซิ่งเสียไม่มี… ไหนใครว่าพี่เม็กด้อยพอ ๆ กับบ้านเรา แถมบางคนเหยียดว่าด้อยกว่าประเทศเราอีก รู้ข้อมูลนี้แล้ว เปลี่ยนใจใหม่ได้นะ

ฉันกับยูลีเดินหาของกิน..กินแหลก…ทั้งร้านหรู ๆ ดี ๆ ในตัวเมือง และรถเข็นข้างทาง ประชดคำของมาร์ตินที่เตือนนักหนาว่า อย่ากินอาหารจากรถเข็นข้างทาง ท้องจะเสียได้… ถึงตอนนี้ฉันกับยูลีไม่สนแล้ว…. ก็เราจะกลับบ้านแล้วนี่นา ขอกินให้เต็มคราบ ให้ถึงเม็กซิโกจริง ๆ

คืนนั้น… ฉันกับยูลีนั่งรถตัวเบาหวิวจากมอนเตร์เรย์ ข้ามแม่น้ำริโอแกรนเด สีเขียวเข้ม กลับลาเรโด บ้านชั่วคราวที่อเมริกา และเพิ่งจะเฉลียวใจหลังจากส่งหนังสือเดินทางให้เจ้าหน้าที่ที่ด่านฝั่งอเมริกาตรวจดู…. ฉันกับยูลีมองหน้าสบตากัน… เราสองคนเดินทางเข้าประเทศเม็กซิโกและกลับออกมาโดยที่ไม่ได้มีเจ้าหน้าที่เม็กซิกันประทับตราหนังสือเดินทางให้… เพราะทั้งตอนเดินทางขาเข้าและขากลับออกมา ไม่มีเจ้าหน้าที่มาขอตรวจดูหนังสือเดินทางเราสองคนสักนายเดียว เออ… รอดไปได้ยังไงเนี่ย… ขอนินทาหน่อยเถอะ… มิน่าหนังฮอลลีวู้ดกี่เรื่อง ๆ ผู้ร้ายถึงได้ชอบข้ามแดนไปประเทศเม็กซิโกกันนัก สงสัยทั้งเข้าง่าย และคนใจดีนี่เอง


Copyright ©2011 kanakacha.blogspot.com

19 กรกฎาคม 2555

ดอกไม้... ทุกหนทุกแห่ง

ไม่ว่าจะไปที่ไหน... เห็นดอกไม้แล้วก็อดไม่ได้ที่จะถ่ายเก็บไว้ ภาพกระจัดกระจายหลายที่หลายทาง... ทั้งดอกไม้บางชนิดอยู่กันคนล่ะที่ คนละทาง ทว่าเหมือนกันอย่างน่าแปลกใจ


เมืองกาลิมปง ประเทศอินเดีย

ดอกวัชพืช เมืองกาลิมปง ประเทศอินเดีย

ไฮเดรนเยีย เมืองกาลิมปง ประเทศอินเดีย
ต้นวัชพืชภายในสวนอนุสรณ์สงคราม เมืองดาร์จีลิ่ง ประเทศอินเดีย คล้ายผีเสื้อราตรี ไม้ประดับบ้านเรา

ดอกวัชพืช ในสวนพฤษศาสตร์ ระหว่างทางไปเมืองเพลลิ่ง ประเทศอินเดีย
ระเบียงหลังที่พักในเมืองเชสกี้ ครุมลอฟ ประเทศเชค  กระถางดอกไม้สีเหลือง ช่างเข้ากันกับเก้าอี้สีฟ้า
ดอกหญ้าริมทางเมืองเชสกี้ ครุมลอฟ ประเทศเชค
ดอกไม้ริมทางเมืองเซียน่า ประเทศอิตาลี
ดอกไม้ริมทางเมืองเซียน่า ประเทศอิตาลี
กุหลาบเลื้อย เกาะทอเซลโล ประเทศอิตาลี

ดอกไม้ริมทางบนเกาะทอเซลโล ประเทศอิตาลี มองเผิน ๆ คล้ายต้นแคฝรั่งที่เคยปลูก

พุ่มไม้เลื้อย กรุงโรม ประเทศอิตาลี
ดอกไม้ริมทางถนน คาเมรอน ไฮแลนด์ ประเทศมาเลเซีย
ดอกไม้ใน penang hill forest เกาะปีนัง ประเทศเมาเลเซีย
โกตา คินาบาลู ประเทศมาเลเซีย
โกตา คินาบาลู ประเทศมาเลเซีย

ดอกบัวผุด โกตา คินาบาลู ประเทศมาเลเซีย
 โกตา คินาบาลู ประเทศมาเลเซีย
เกาะเชิงเชา ฮ่องกง
ดอกไม้ริมทางเท้า เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ดอกไม้ริมทางเท้า เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สีชมพูหวานเป็นที่สุด
ดอกไม้หน้าร้านขายของในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

ต้นบีโกเนีย ดอยอ่างขาง เชียงใหม่ ประเทศไทย ปลูกที่บ้านไม่ยักออกดอกแบบนี้
ดอยอ่างขาง เชียงใหม่ ประเทศไทย
ดอกสาละลังกา สวน ร.2  อัมพวา ประเทศไทย

เดียงพลาโต เกาะสุราบายา  ประเทศอินโดนีเซีย
เดียงพลาโต เกาะสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย

เดียงพลาโต เกาะสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย
ไทเกอร์ฮิลล์ ดาร์จีลิ่ง ประเทศอินเดีย.... ดอกแบบเดียวกับที่เดียงพลาโต
ดอกไม้ที่เดียงพลาโต เกาะสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย

สวนเคอเคนฮอฟ อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ทิวลิปที่เคอเคนฮอฟ อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ สวยสุด ๆ 
ดอกไม้อื่นในสวนคอเคนฮอฟ เนเธอร์แลนด์


ทิวลิปอีกแล้ว คอเคนฮอฟ เนเธอร์แลนด์

ดอกไม้ในสวนเคอเคนฮอฟ เนเธอร์แลนด์

ดอกไม้ในอุทยานทาโรโกะ ประเทศไต้หวัน


12 กรกฎาคม 2555

เที่ยวเม็กซิโก ตอนที่ 16


ซาคาเทคัส (Zacatecas)
                ซาคาเทคัสเป็นเมืองอาณานิคม และเมืองเหมืองแร่
บรรยากาศความเป็นเมืองเหมืองแร่กรุ่นทั่วตัวเมือง ฉันกับยูลีซื้อทัวร์เข้าไปชมเหมืองเก่า Mina El Eden ที่ต้องนั่งรถรางลงไปในอุโมงค์ระยะทางสั้น ๆ เพื่อชมสภาพภายใน
ถ้าเมืองอื่น ๆ ก่อนหน้านี้  เราเจอคนพื้นถิ่นที่น่ารัก ที่ซาคาเทคัสเรากลับถูกคอกับนักท่องเที่ยวด้วยกันมากกว่า นอกจาก Octavid แล้ว ยังมีกลุ่มนักท่องเที่ยวจากเมืองเอล ปาโซ ที่เจอกันขณะเข้าไปเที่ยวในเหมืองรอบเดียวกัน  ไม่รู้เป็นเพราะความเป็นคนเอเชียที่ดูตัวเล็ก ๆ หน้าอ่อนเยาว์ หรือไงไม่ทราบ ท่าทางพวกนี้เอ็นดูฉันกับยูลีจัง…. ชวนเราพูดคุยตลอดเวลา ทั้งเอื้อเฟื้อแปลคำอธิบายของคนนำทางท้องถิ่น ที่สาธยายความเป็นมาของเหมือง อีเดนให้เราฟังเป็นภาษาอังกฤษ


                ถึงแม้เหมืองจะไม่มีแร่ให้ขุดอีกต่อไป แต่ยังคงเป็นแหล่งทำเงินให้กับเมืองอยู่ดี คนงานในเหมืองเปลี่ยนกลายเป็นนักศึกษาที่มาทำอาชีพเป็นไกด์นำทาง  ล่อที่ลากเกวียนเปลี่ยนเป็นรถรางนำนักท่องเที่ยวเข้าไปชมด้านใน
ชื่อของเหมืองที่เพราะพริ้ง เป็นแหล่งสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศสเปน แต่สำหรับคนงานที่นี่แล้ว ที่นี่เป็นนรกดี ๆ นี่เอง ในสมัยยุคอาณานิคม เป็นเรื่องธรรมดาที่จะส่งเด็กอายุสิบขวบลงไปทำงานข้างใน และคนงานเหล่านี้มีอายุได้ไม่เกิน 40 ปี
เส้นทางออกจากเหมืองมีรถกระเช้า Teleferico นำนักท่องเที่ยวไปอีกเนินเขาด้านหนึ่ง

บริเวณนั้น มีโบสถ์ พิพิธภัณฑ์ และรูปปั้นคนสำคัญ แต่เวลานั้น กวาดตามองไปรอบ ๆ ฉันกับยูลีตาพร่างพรายไปด้วยหินสวย ๆ ที่บรรดาพ่อค้าแม่ค้า มาร้อยขายเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือเต็มไปหมด ทั้งยังมีเครื่องประดับที่ทำจากเงินและทองแดงอีก สมกับเป็นเมืองเหมืองแร่จริง ๆ   ฉันกับยูลีเลยละความสนใจจากสถานที่เที่ยว หันไปชอบปิ้งตามประสาสาว ๆแทน ราคาเครื่องประดับใส่เล่นเหล่านี้ถูกแสนถูก จนฉันกับยูลีขนซื้อกันมาคนละหลายเส้น
นอกจากเครื่องประดับสวย ๆ ในราคาย่อมเยาชวนช้อปแล้ว ฉันยังไปติดใจงานฝีมือพื้นบ้านประเภทหนึ่งเข้า ถ้วยลูกปัด !!! ให้ตายเถอะ เจ้าลูกปัดเม็ดเล็ก ๆ ที่เรียงรายประดิดประดอยเป็นลวดลวยต่าง ๆ  ด้านในถ้วยที่วางโชว์บนขาตั้ง แบบที่ใช้วางจานโชว์ สีสันจัดจ้าน สดสะดุดตากระทั่งมองผ่านไปแล้ว ต้องตวัดตากลับมามองอีกครั้ง ให้ตายเถอะ… คนเม็กซิกันนี่เวลาทำอะไรเขาใช้สีสันดุเดือดกันดีจริง ๆ
แว่บแรกที่เห็นสะดุดตา จนต้องหันกลับไปมองอีกครั้ง ต้องถามตัวเอง อะไรหว่า? ก่อนสาวเท้าก้าวเข้าไปประชิดก้มดูใกล้ ๆ  ตอนแรกฉันคิดว่าเจ้างานชิ้นนี้คงจะทำจากกะลามะพร้าวผ่าซีก แล้วนำลูกปัดมาประดับตกแต่ง แต่ครั้นหยิบขึ้นมาดูต้องเปลี่ยนใจ 
ไม่ใช่… กะลามะพร้าวจะไม่บาง เรียบ และลื่นแบบนี้ นอกจากนี้เมื่อพลิกกลับดูด้านหลัง ไม่มีรอยบุ๋มแบบที่กะลาควรต้องมี
น้ำเต้า… ถ้วยลูกปัดนี้ทำจากน้ำเต้า และเป็นงานฝีมือพื้นบ้านของชาวอินเดียนเผ่า Huichol  นั่นทำให้ฉันนึกถึงผลน้ำเต้าแห้งที่ชาวเขาบ้านเราเอามาประดับตกแต่งแขวนขายนักท่องเที่ยวทั้งผล ฉันเองยังซื้อมาแขวนเล่นในห้องนอนอยู่หลายใบ

ชาวอินเดียนเผ่า Huichol ใช้ถ้วยลูกปัดในพิธีกรรมติดต่อกับพระเจ้า โดยเชื่อว่าเมื่อพระเจ้าได้ทรงดื่มน้ำจากถ้วยน้ำเต้านี้แล้ว จะเข้าใจสิ่งที่พวกเขาสวดอ้วนวอนมากยิ่งขึ้น

ภาพจาก http://www.timbersresorts.com

ฉันว่างานศิลปะพื้นบ้านมักมีรูปแบบ และใช้วัสดุที่คล้ายคลึง ฉันเคยซื้อเสื้อพื้นเมืองจากเม็กซิโกไปฝากเพื่อนที่เมืองไทย ไม่ยักมีใครคิดว่าของชิ้นนั้นข้ามน้ำข้ามทะเลไปตั้งไกล กลับนึกกันว่าฉันซื้อมาจากเชียงใหม่ไปเสียฉิบ
เจ้าย่ามใบแดงที่ฉันหอบหิ้วจากเมืองไทยก็เช่นกัน สะพายไปเรียนที่แคมปัส ไม่ยักเรียกความสนใจจากเพื่อนฝรั่ง มีแต่นักเรียนจีนเข้ามาถามไถ่ว่า ฉันไปหาซื้อมาจากไหน เพราะเหมือนของชาวเขาที่บ้านเขาเป๊ะเลย
สุดท้าย ฉันเดินเข้า ๆ ออก ๆ ตามร้านขายของที่ระลึกอยู่หลายร้าน กว่าจะได้ถ้วยลูกปัดถูกใจลายดอกไม้สีสวย ขนาดกะทัดรัด ในราคาไม่สะเทือนกระเป๋ามาเป็นที่ระลึก 1 ชิ้น ยูลีไม่ยักจะสนใจ เจ้าหล่อนว่าถูกใจกับสร้อยคอ กับสร้อยข้อมือที่ทำจากหินสีสวย ๆ มากกว่า
หลังจากกลับไปที่อเมริกาแล้ว ใครถามไถ่เราเกี่ยวกับเมืองเมืองนี้ ว่าเป็นยังไงบ้าง เราได้แต่ยิ้มกระเป๋าแฟ้บ พูดอ้อมแอ้มว่าเหมาะสำหรับชอบปิ้ง (แฮะ แฮะ)


Copyright ©2011 kanakacha.blogspot.com

เที่ยวเม็กซิโกตอนที่ 15


การเดินทางคือการเปิดหู เปิดตา และเรียนรู้ผู้คน


                “Do you speak English?” ฉันกับยูลีหันขวับไปที่ต้นเสียงทันที ประหลาดใจว่าใครหนอมาทักทายแบบนี้
                “Yes, we do”
ขาดเสียงขานรับของเราสองคน หนุ่มอเมริกันรายนั้นก็ยิ้มหราอย่างถูกอกถูกใจ คงกำลังอึดอัดใจเต็มที ที่หันซ้ายแลขวาไปทางไหนก็ไม่รู้จะพูดภาษาอังกฤษกับใคร  เพราะที่เม็กซิโกพอพ้นเมืองหลวงออกมาแล้ว ดูเหมือนจะไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษสักราย พอเห็นเหยื่อสาวชาวเอเชียสองรายโผล่ให้เห็น เลยรีบเข้ามาทักทาย และไม่ผิดหวัง
Octavid เดินทางมาเดี่ยวจริง ๆ ถึงเขาจะเป็นหนุ่มอเมริกัน แต่เป็นอเมริกันเชื้อสายเม็กซิกัน…. จึงพูดภาษาสเปนได้คล่องแคล่วแต่ถึงอย่างนั้นพอเจอคนพูดภาษาอังกฤษได้ก็อยากจะเข้ามาพูดคุยด้วย 
เขาชักชวนเราเข้าไปนั่งดื่มกาแฟในร้านใกล้ ๆ ด้วยกันสงสัยต้องยืมคำของท่านโกวเล้งมาใช้สักหน่อย รสชาติของกาแฟที่ดื่มเข้าไปเวลานั้นแทบไม่รู้รส เพราะบทสนทนาระหว่างเราสามคนกลมกล่อมดีเหลือเกิน  Octavid เล่าให้เราฟังถึงการเดินทางของเขา เขาตั้งใจจะตะลอนไปตามเมืองอาณานิคมของสเปนให้ทั่ว  เมืองแรกที่แวะไปเยือนเหมือนกับเราสองคน คือเมืองวานนาฮัวโต้ เขาพักที่นั่นถึง 6 วันเเข้าขีดหลงไหลสุด ๆ จนไม่อยากจะขยับเขยื้อนไปไหนต่อ ต้องตัดใจทำใจอยู่โขทีเดียว ถึงได้เดินทางมาต่อที่เมืองซาคาเทคัส (Zacatecas) แห่งนี้ได้
Octavid พูดภาษาสเปนได้เขาเลยมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับสถานที่เที่ยวในวานนาฮัวโต้เล่าให้เราฟัง ไม่ว่าจะเป็นตลาดฮิวดาโก้เรื่องราวของมิกุเอล ฮิวดาโก้ที่เป็นคนประกาศอิสรภาพของเม็กซิโกเหนือสเปน….
หนุ่มอเมริกันสารภาพกับเราว่า แรกเห็นเราสองคน รู้สึกประหลาดใจสุด ๆ ที่จู่ ๆ ก็ได้เห็นสาวเอเชียสองคนในเมืองซาคาเทคัส และยิ่งรู้ว่าฉันกับยูลีมาจากคนละประเทศยิ่งส่ายหัว หากปากพร่ำว่า… “ดีแล้วดีแล้วการเที่ยวเป็นการเปิดหู เปิดตา และได้เรียนรู้ผู้คน”…. ฉันขอเพิ่มเสริมถ้อยประโยคของ Octavid ได้มั้ยคะการเที่ยวยังเป็นการฝึกใจและฝึกความอดทนด้วย
การเดินทางจากเม็กซิโก ซิตี้ มาซาคาเทคัส ทำให้ฉันเปิดใจต้องยอมรับว่า ไม่มีที่ไหนในโลกหรอกที่คนจะน่ารักไปเสียทั้งหมด คนที่ไม่ใส่ใจไม่สนใจคนอื่นมีถมเถไป
การเริ่มต้นของฉันกับยูลีสำหรับเมืองซาคาเทคัสไม่ดีเอาเสียเลย เริ่มจากคนขายตั๋วรถให้ฉันกับยูลีที่ท่ารถที่เม็กซิโก ซิตี้ไม่ได้สนใจสักนิดว่าเขาขายตั๋วรถอะไรให้เราไม่มีคำอธิบาย ไม่มีการชี้บอกทาง มีแต่สีหน้าที่บึ้งตึงและแสดงอาการรำคาญ  เอือมเต็มทนที่เราพยายามจะซักไซ้ ไล่เรียง ถามไถ่โน่นนี่จากเขาอยู่นั่นแหละ  เจ้าหน้าที่เขียนหมายเลขชานชาลาสำหรับรถเข้าเทียบจอดให้เราแบบเหวี่ยงแหหรือส่ง ๆ ก็ไม่รู้  ตั้งแต่ชานชาลาหมายเลข 22 ไปถึงหมายเลข 29 โน่น ทำนองให้ไปเดินหาเอาเอง กว่าจะหารถเจอก็แย่แล้ว ฉันกับยูลียังลงผิดเมืองอีก ครั้นซื้อตั๋วรถใหม่เพื่อจะเดินทางไปต่อก็เจอคนขายตั๋วที่ไม่น่ารักซ้ำสองอีกครั้ง  แถมหวุดหวิดจะหารถที่จะเดินทางไปต่อไม่เจออีก เพราะคนขายตั๋วขายตั๋วรถบริษัทฯอื่นให้เรา ทั้งที่เคาน์เตอร์ที่เขานั่งอยู่ เป็นของบริษัทรถอีกบริษัทหนึ่ง งงมั้ยคะฉันกับยูลียิ่งงงใหญ่ เดินหารถยังไงก็ไม่เจอแต่ยังดีคนแถวนั้น เห็นเราสองคนหน้านิ่วคิ้วขมวด เดินวนเวียนถือตั๋วว่อนไปมาหลายรอบ เลยเข้าช่วยหารถให้ แต่ขนาดคนของเขาเองยังหารถให้เราไม่เจอเลย  โชคดีที่คนขับรถมาเดินต้อนหาลูกค้า เจอเราเข้า เลยโชคดีไป ไม่งั้นตกรถแบบเห็น ๆ
รถบัสเข้าเมืองซาคาเทคัส ไม่ยักไปจอดเป็นที่เป็นทางที่สถานีรถเหมือนที่อื่นๆ แต่ไปจอดสุดสายเอาข้างถนนดื้อ ๆ  ที่ไม่มีอะไรเป็นจุดเด่นสำคัญให้จับสังเกตุได้เลยว่า…. ณ จักรวาลกว้างใหญ่ของเมืองซาคาเทคัสฉันกับยูลีอยู่ ณ จุดไหนของเมือง แถมคนขับรถ และคนโดยสายสลายตัวหายกันไปอย่างรวดเร็วมาก จนฉันกับยูลีตั้งตัวกันไม่ทัน  ให้ตายเถอะไม่เคยเคว้งที่ไหนเท่าที่นี่มาก่อนเลย
ฉันกับยูลีต้องหอบหิ้วกระเป๋าตั้งหลักคลำทาง  เดินหาชื่อป้ายถนน เทียบกับแผนที่ที่มีอยู่ในมือ อย่างน้อยกำหนดจุดได้คร่าว ๆ ว่าอยู่ตรงไหนบริเวณไหนของเมืองได้ก่อนก็ยังดี
จากนั้นเรามองหาตู้โทรศัพท์ โทรไปตามโรงแรมทุกแห่งที่จดชื่อมาได้ผล.. ทันทีที่ได้ยินเราพูดภาษาอังกฤษ ทุกคนวางหูกันหมด  ฉันกับยูลีเลยต้องเดินหอบสัมภาระ ตัดสินใจลุยไปที่พักที่สุ่มเลือกไว้ จะเต็มไม่เต็ม ก็ต้องไปถามถึงที่กันล่ะ ในเมื่อไม่สามารถสอบถามกันทางโทรศัพท์ได้
                ที่พักที่ฉันกับยูลีตั้งใจจะไปพัก ไม่มีป้าย หรือสัญลักษณ์อะไรแสดงให้เห็นว่าเป็นโรงแรม ดีที่หนังสือท่องเที่ยวที่เราถ่ายสำเนาเก็บไว้ บอกไว้ชัดเจนให้สังเกตุที่หน้ากระจกตึกด้านหน้าจะมีคำว่า HP นั่นแหละถึงที่หมายแล้ว
                โชคดีที่ที่พักไม่เต็มไม่งั้นการเริ่มต้นที่เมืองซาคาเทคัสคงวุ่นวายกว่านี้


Copyright ©2011 kanakacha.blogspot.com

6 กรกฎาคม 2555

เที่ยวเม็กซิโก ตอนที่ 14


ลานโซกาโล (zocalo)

โซกาโลเป็นจตุรัสใจกลางเมืองเม็กซิโกซิตี้

บรรยากาศของที่นี่ ฉันว่าคล้าย ๆ สนามหลวงบ้านเรา เป็นลานกว้างหย่อนใจของผู้คน และมีวังรัฐบาล (Palacio Nacional) โอ่อ่าสวยงามตั้งอยู่


 วังรัฐบาล
 
 วังรัฐบาล
 
 บรรยากาศรอบ ๆ ลานซากาโล


ยูลีตื่นเต้นกับวังแห่งนี้ เพราะมีขนาดใหญ่โตและสลักลวดลายสวยงดงาม โอ่อ่า สมกับพื้นที่กว้างขวางที่รองรับ เธอหันมาถามฉัน

“วังที่ประเทศไทยสวยแบบนี้มั้ย”

“สวยสิ” ฉันตอบ… และด้วยเลือดรักชาติเข้มข้นแทบจะพุ่งปรี๊ดออกมา ทำให้แทนที่จะตอบแค่นั้นกลับเสริมเติมไปอีก “สวยกว่าที่นี่อีก” ปากกล่าวไปโดยลืมนึกไปว่า ความสวยงามนั้นเปรียบเทียบกันได้ที่ไหน ดีที่ยูลีฟังแล้วไม่ได้ใส่ใจคำพูดฉันมากมาย ด้วยเธอตื่นเต้นกับวังรัฐบาลที่ตั้งอยู่ด้านหน้าอย่างจริง ๆ จัง ๆ

ภายในวังรัฐบาล ประดับด้วยภาพเขียนฝาผนังใหญ่โต นักท่องเที่ยวที่เข้ามาด้านใน ต่างเดินดูภาพกันอย่างจริง ๆ จัง ๆ จนฉันกับยูลีสัมผัสได้… และให้รู้สึกผิดถ้าไม่ได้เดินดูภาพวาดบนผนังอย่างละเอียดจริงจังบ้าง… ภาพสำคัญทางประวัติศาสตร์… เดินดูเนื้อเรื่องที่สะท้อนในภาพวาดสักครู่ ฉันกับยูลีก็จับใจความได้ และเมื่อมีจังหวะได้ผสมโรงปนเปกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีเจ้าหน้าที่อธิบายนำทาง ฉันกับยูลีก็พอจะจับประเด็นสะเปะสปะ รวมทั้งผสมเรื่องราวได้ว่า เจ้าภาพวาดที่ว่าเป็นภาพวาดเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในประวัติศาสตร์ของเม็กซิโก ไล่เรียงตั้งแต่สมัยแอซเทค กระทั่งการประกาศอิสระภาพจากประเทศสเปน เรียกได้ว่าได้นำประวัติศาสตร์กว่า 2000 ปีมาร้อยเรียงย่นย่อบนฝาผนัง มิน่าล่ะ… คนของเขาถึงได้ดูภาพวาดกันอย่างจริง ๆ จัง ๆ เพราะเปรียบเสมือนหนังสือประวัติศาสตร์ของพวกเขานี่เอง

คนวาดภาพเหล่านี้ไม่ใช่ใคร เป็น ดิเอโก้ ริเวอรา (Diego Rivera) สามีของฟรีด้า คาฮ์โล (Frida Kahlo) ศิลปินหญิงโด่งดังของเม็กซิโก และฮอลลีวู้ด เคยนำเรื่องราวของเธอไปถ่ายทอดบนแผ่นฟิล์ม ทำให้คนรู้จักเธอในวงกว้างขวางยิ่งขึ้น


ดิเอโก้ ริเวอรา ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งงานจิตรกรรมฝาผนัง และงานศิลปะการเมืองสมัยใหม่ของเม็กซิโก  และเป็นหนึ่งในจิตรกรเอกภาพวาดฝาผนังของโลก  งานชิ้นสำคัญของเขาคือภาพวาดบนฝาผนังในวังรัฐบาลที่ฉันกับยูลีได้เข้าไปเยี่ยมชม

ตกเย็น… ลานโซกาโลเต็มไปด้วยยอดมนุษย์… อยากเจอะเจอซุปเปอร์ฮีโร่รายไหน มีหมด… แบทแมน… ซุปเปอร์แมน… สไปเดอร์แมน… ซุปเปอร์ฮีโร่เหล่านี้ ลอยล่องเต็มท้องฟ้า… อย่าเพิ่งงงและสับสน ถ้าสนามหลวงบ้านเราเต็มไปด้วยว่าว… ลานโซกาโลก็เต็มไปด้วยร่ม… ร่มที่ว่าคือร่มชูชีพ ตัวร่มทำจากพลาสติกเป็นรูปต่าง ๆ และคนโดดร่มไม่ใช่ใคร ก็พวกตุ๊กตายอดมนุษย์ทั้งหลายที่ฉันกล่าวถึงไปแล้ว

เด็ก ๆ ที่นี่เล่นปล่อยร่มชูชีพกัน มองจากที่ไกล ๆ สีสันสดใสสวยจัดจ้านแบบเม็กซิกัน ร่มหลากสีลอยขึ้นเหนือท้องฟ้า พอทำท่าตกลงมา เจ้าของก็วิ่งไปเก็บ แล้วปล่อยให้ลอยขึ้นไปใหม่ ที่เรียกความสนใจได้มากที่สุดเป็นร่มขนาดยักษ์สีม่วง พอปล่อยลอยขึ้นฟ้าทำท่าจะติดลมบนลอยไปไกล แต่ก็ตกกลับลงมาข้างล่าง ให้เจ้าของได้ปล่อยลอยขึ้นไปใหม่ทุกที

ละจากลานโซกาโลชั่วคราว เพื่อหาของกิน เพราะหิวเต็มที แต่ปรากฏว่า ต้องละไปไกลกว่าที่คิดมาก เพราะวันปีใหม่ของชาวเม็กซิกัน ช่างเป็นปีใหม่กันจริง ๆ ร้านรวงพร้อมใจกันปิดเรียบเกลี้ยง… ฉันกับยูลีต้องเดินลัดเลาะไปตามตึกแถวไกลจากลานซากาโลไปทุกขณะ เพื่อหาของกิน แต่ร้านอาหารกี่ร้าน กี่ร้าน ที่เจอะเจอปิดหมด กระทั่งไปเจอร้านขายทาโก้ร้านหนึ่งเปิดขาย คนแน่นเต็มร้าน แน่ล่ะ… ก็เปิดอยู่ร้านเดียวนี่นา

ภายในร้านเจอะเจอนักท่องเที่ยวชาวแคนาดาที่จับจ้องเราอย่างสนอกสนใจ ขณะที่เราก็จับจ้องเขาอย่างสนอกสนใจเช่นกัน ก็คนแปลกหน้ามาเจอกันในสถานที่แปลกถิ่น ย่อมต้องดึงดูดใจกันเป็นธรรมดา

หนุ่มแคนาดาประพฤติตนเหมือนเรา เปิดพจนานุกรมคำศัพท์เล่มเล็กที่พกติดตัวมา เพื่อสั่งอาหารให้ได้ถูกปาก หลังจากทักทายกัน พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเดินทางกัน… ไม่รู้สึกแปลกใจ ที่เขา ฉัน และยูลี รู้สึกคล้องจองและตรงกัน “คนเม็กซิกันน่ารัก… “

ทาโก้ที่แน่นเต็มท้องทำให้อารมณ์ดีขึ้นมาก ฉันกับยูลีย้อนกลับมาที่ลานโซกาโลอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลา 6 โมงเย็นตรงเผ็ง ตึกอาคารรอบ ๆ ละต้นคริสมาสต์ใหญ่ยักษ์ที่ตั้งอยู่ใจกลางลาน ก็พร้อมใจสว่างโร่ด้วยไฟที่ประดับประดาอย่างสวยงาม เฉลิมฉลองการหมุนเวียนมาถึงของวันปีใหม่อีกครั้ง ฉันกับยูลียืนงันจ้องแสงไฟอยู่ชั่วอึดขณะ…. จดจำภาพสุดท้าย ณ ลานกว้าง ใจกลางเมืองของเม็กซิโก ซิตี้ ณ เวลานั้น… ฉันรู้สึกรักเม็กซิโกจับใจ




Copyright ©2011 kanakacha.blogspot.com

เที่ยวเม็กซิโก ตอนที่ 13

พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาแห่งชาติ (Museo Nacional de Antropologia)

อยู่เมืองไทยเคยเที่ยวพิพิธภัณฑ์กับเขาบ้างมั้ย? อดเอ่ยถามตัวเองไม่ได้ คำตอบคือ… กระดิกนิ้วได้ครั้งสองครั้งนิ้วก็แทบไม่ขยับแล้ว แหม… ก็แต่ละครั้ง ที่เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์น่ะ เดินลากเท้าไม่กี่ก้าวก็วนรอบจบกระบวนความ เดินออกมาแล้ว… ไม่เห็นจะน่าสนใจเท่าไหร่เลย

แต่คราวนี้ฉันกับยูลีมุ่งมั่นมา พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาของเม็กซิโก ซิตี้ แต่เช้า… เหตุเพราะโดนกล่อมโดยครอบครัวของมาร์ติน ทำนองว่ามาถึงเม็กซิโก ซิตี้แล้ว ไม่ได้เหยียบเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ของเขาละก็ เป็นความผิดแสนสาหัสที่ไม่ควรให้อภัยตัวเองไปอย่างยิ่ง โห… อะไรจะขนาดนั้น

พิพิธภัณฑ์ มานุษยวิทยาตั้งอยู่ในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ชื่อว่าจาปูเต็ลเพ็ค (Chapultepec) ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสวนสัตว์ และ ปราสาท อีกด้วย ฟังแค่นี้ก็คงจะรู้แล้วว่าเจ้าสวนสาธารณะชื่อแปลกนี้เป็นแหล่งพักผ่อนขนาด ใหญ่มหาศาลแค่ไหนสำหรับชาวเม็กซิกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ปัจจุบัน… หากเป็นเช่นนี้ตั้งแต่สมัยชาวแอซเทคแล้ว…. เห็นมั้ยว่าหนีไม่พ้นชาวแอซเทคอีกแล้ว จะหนีไปได้อย่างไร ในเมื่อชื่อแปลก ๆ ของสวนนี้เป็นภาษาชาวแอซเทค แปลว่า “ภูเขาตั๊กแตน”

วันแรกของปี ใหม่ ผู้มาเยือนพิพิธภัณฑ์ไม่ต้องเสียค่าเข้าชม…. ไม่อยากบอกเลยว่า แค่นี้ก็รู้สึกดีเป็นบ้า… เป็นความรู้สึกซ่อนในเหลือบลึก ๆ ที่อยากจะได้อะไรที่มันฟรี ๆ กับเขาบ้าง

พิพิธภัณฑ์ที่นี่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก… ครอบครัวของมาร์ตินบอกพวกเราอย่างภาคภูมิใจ ตรงป้ายชื่อทางเข้ามีแท่งหินสกัดขนาดใหญ่ตั้งวางอยู่… สะดุดตาตั้งแต่เห็น และราวจะประกาศให้ผู้มาเยือนเตรียมตัวเตรียมใจว่าที่เห็นอยู่ตอนนี้ด้านนอก น่ะเป็นเพียงเศษเสี้ยวชิ้นเล็ก ๆ ของความเป็นมาของที่นี่ เมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์แล้วจะได้รู้

แท่งหินสกัดขนาดใหญ่คือ ตลาล็อค (Tlaloc) เทพเจ้าแห่งฝนของชาวแอซเทค เมื่อแรกที่ค้นพบนั้นจมดิน อยู่ไม่ไกลจากเม็กซิโก ซิตี้เท่าไหร่ ก่อนจะทำการขนย้ายมาตั้งวางที่นี่ เล่ากันว่าตอนที่ขนเทพเจ้าแห่งฝนเข้ามาในเมือง ฝนได้ตกเทลงมาอย่างหนัก ทั้งที่เมืองแล้งจัดมาเป็นเวลานาน ช่างบังเอิญเสียจริง

พิพิธภัณฑ์ ที่นี่ผิดคาดจากที่วาดภาพไว้ จากที่คิดว่าคงจะใช้เวลาเยือนเพียงชั่วแป๊ป กลับเนิ่นนานกว่าที่คิด ไว้อยู่มาก คงเป็นเพราะประวัติศาสตร์ของที่นี่มีที่มาที่ไปอย่างไร ได้รับการจัดแสดงอย่างดีเยี่ยม จากชนเผ่าโอลเมค (Olmecs) ชนเผ่ามายา (Maya) …กระทั่งถึงชนเผ่าแอซเทค (Aztecs) ทั้งหมดจัดแสดงเป็นห้อง ๆ แบ่งแยกยุคสมัยอย่างชัดเจน บริเวณชั้นล่างมีทั้งสิ้น 12 ห้อง แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมข องเม็กซิโกในยุคแรก ส่วนชั้นบนมี 10 ห้อง แสดงศิลปวัฒนธรรมยุคใหม่ วิธีการนำเสนอของเขาที่เรียงร้อยอย่างสอดคล้อง ทำให้ง่ายต่อการจินตนาการตาม และที่โปรดมาก ๆ คือ แต่ละห้องได้ทำการจำลองโบราณสถานที่เด่น ๆ สำคัญ ๆ ในยุคนั้น ๆ ไว้ในส่วนที่เป็นสวนเปิดด้านหลัง เป็นการช่วยเติมเต็มจินตนาการแก่ผู้มาเยือนให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น (อย่างมาก ๆ เลยทีเดียว)




ปฏิทินหิน

ฉันสะดุดตากับแผ่นหินสกัดขนาดใหญ่ทรงวงกลมที่มีรูปหน้าคนตรงกลางที่แขวนสดงไว้บนผนังเข้าอย่างจัง…. ที่สะดุดเพราะมีพ่อค้าแม่ขาย นำเสนอเจ้าวัตถุกลม ๆ นี้ให้ฉันกับยูลีช่วยซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึกมาหลายครั้งแล้ว… แต่ฉันกับยูลีก็ยังไม่ใจอ่อนสักที… เพราะ… ฉันกับแม่สาวน้อยหน้ากลม ไม่รู้น่ะสิ… ว่าไอ้วัตถุทรงกลมคล้ายกรงล้อที่มีรูปหน้าคนดุ ๆ อยู่ตรงกลาง ทั้งยังแกะสลักลวดลายแปลก ๆไว้รอบ ๆ นี่คืออะไร แต่…ลงได้เที่ยวมีคนถือร่อนขายไปทั่วเมืองแบบนี้ ต้องเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของที่นี่แน่ ๆ

Calendar Stone… ปฏิทินหินของชาวแอซเทค … ฉันยืนมองดูแผ่นหินสกัดขนาดใหญ่ของจริงตรงหน้าชัด ๆ คล้ายนาฬิกา… ฉันรู้สึกอย่างนั้น ยิ่งมีลายสามเหลี่ยมที่เส้นปลายฐานสองข้างด้านล่างม้วนเป็นเส้นตวัดออกด้านนอกสี่จุดแบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นสี่ส่วน ๆ เท่า ๆ กัน บน ล่าง ซ้าย ขวา คล้ายจุดบอกเวลาบนนาฬิกา 6 นาฬิกา 9 นาฬิกา 12 นาฬิกา และ 15 นาฬิกา ไม่เท่านั้น ยังมีลายสามเหลี่ยมที่มีขนาดเล็กกว่าอีกสี่จุดแบ่งกึ่งกลางของพื้นที่สี่ส่วนกลายเป็น 8 ส่วน… คล้ายนาฬิกาบอกเวลา

แต่จริง ๆ แล้ว สำหรับคนศึกษาปฏิทินหิน จะบอกว่าไอ้ลายสามเหลี่ยมที่ว่าไม่ว่าจะขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ คือเปลวแสงอาทิตย์ต่างหาก… ก็ตรงกลางเป็นสุริยเทพ รอบ ๆ ก็ต้องเป็นแสงอาทิตย์สิ… แหม… เข้าเค้าเชียว ทำเอาฉันนึกถึงภาพวาดดวงอาทิตย์ของตัวเองสมัยเด็กยันโตเอาปานนี้ ที่ยังคงวาดดวงกลม ๆ แล้วก็สบัดปลายดินสอเป็นขีด ๆ รอบดวงกลม ๆ นั่นแหละ… พระอาทิตย์ละ

ตรงกลางด้านในสุดคือสุริยเทพ โตนาติอู (Tonatiuh) ใบหน้านั้นแยกเขี้ยว ยิงฟัน คาบมีดสำหรับฆ่าคนไปบูชายัญ (บรื๋ออ)

ถัดจากตรงกลางวงแหวนที่ 1 ที่ล้อมรอบดวงหน้าของสุริยเทพ โตนาติอู แบ่งออกเป็นสี่ส่วน แสดงถึงยุคสมัยทั้งสี่ ตามตำนานความเชื่อของชาวแอซเทค ที่เชื่อกันว่าสี่เหลี่ยมทั้งสี่ช่องเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงจุดจบของโลกในยุคก่อนหน้านี้ ได้แก่ สัตว์ป่า ลม ฝน และน้ำ ชาวแอซเทคเชื่อกันว่าโลกที่เขาอาศัยอยู่เป็นโลกยุคที่ห้า และเป็นโลกยุคสุดท้าย

วงแหวนที่ 2 แบ่งออกเป็น 20 ช่อง เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทน 20 วันในหนึ่งเดือน

       งู

       จิ้งจก

       บ้าน

       ลม

       จระเข้

       ดอกไม้

       ฝน

       หินภูเขาไฟ

       ยุคสมัย

       อีแร้ง

       นกอินทรี

       เสือจากัวร์

       ลำอ้อย

       สมุนไพร

       ลิง

       หมาไม่มีขน

       น้ำ

       กระต่าย

       กวาง

       หัวกระโหลก

ยิ่งดูรูปภาพเปรียบเทียบกับคำแปล…ยิ่งรู้สึกสอดคล้อง

สำหรับวงแหวนที่ 3 มีลายสามเหลี่ยมที่ฉันบอกก่อนหน้านี้ว่าคล้ายจุดบอกเวลาบนนาฬิกา หากหมายถึงเปลวแสงอาทิตย์ และวงแหวนรอบนอกสุดเป็นงูใหญ่สองตัวหันหน้าเข้าหากัน ร่างถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ประกอบด้วยสัญลักษณ์เปลวไฟ งวงช้าง และขาของเสือจากัวร์

หลังจากเห็น Calendar Stone ภายในพิพิธภัณฑ์แล้ว พอออกไปเดินในสวนสาธารณะจาปูลเต็ลเพ็ค มีพ่อค้ามาเสนอขายปฏิทินหินของชาวแอซเทค ยูลีก็ไม่รอช้าที่จะจ่ายเงินซื้อเก็บไว้เป็นที่ระลึกทันที แม้เจ้าปฏิทินนั้นจะเห็นได้ชัดว่าหล่อมาจากปูนปาสเตอร์ และง่ายต่อการแตกหักยิ่งนักก็ตาม

อยู่เมืองไทยเคยเที่ยวพิพิธภัณฑ์กับเขาบ้างมั้ย? อดเอ่ยถามตัวเองไม่ได้ คำตอบคือ… กระดิกนิ้วได้ครั้งสองครั้งนิ้วก็แทบไม่ขยับแล้ว แหม… ก็แต่ละครั้ง ที่เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์น่ะ เดินลากเท้าไม่กี่ก้าวก็วนรอบจบกระบวนความ เดินออกมาแล้ว… ไม่เห็นจะน่าสนใจเท่าไหร่เลย

แต่คราวนี้ฉันกับยูลีมุ่งมั่นมา พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาของเม็กซิโก ซิตี้ แต่เช้า… เหตุเพราะโดนกล่อมโดยครอบครัวของมาร์ติน ทำนองว่ามาถึงเม็กซิโก ซิตี้แล้ว ไม่ได้เหยียบเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ของเขาละก็ เป็นความผิดแสนสาหัสที่ไม่ควรให้อภัยตัวเองไปอย่างยิ่ง โห… อะไรจะขนาดนั้น

พิพิธภัณฑ์ มานุษยวิทยาตั้งอยู่ในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ชื่อว่าจาปูเต็ลเพ็ค (Chapultepec) ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสวนสัตว์ และ ปราสาท อีกด้วย ฟังแค่นี้ก็คงจะรู้แล้วว่าเจ้าสวนสาธารณะชื่อแปลกนี้เป็นแหล่งพักผ่อนขนาด ใหญ่มหาศาลแค่ไหนสำหรับชาวเม็กซิกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ปัจจุบัน… หากเป็นเช่นนี้ตั้งแต่สมัยชาวแอซเทคแล้ว…. เห็นมั้ยว่าหนีไม่พ้นชาวแอซเทคอีกแล้ว จะหนีไปได้อย่างไร ในเมื่อชื่อแปลก ๆ ของสวนนี้เป็นภาษาชาวแอซเทค แปลว่า “ภูเขาตั๊กแตน”

วันแรกของปี ใหม่ ผู้มาเยือนพิพิธภัณฑ์ไม่ต้องเสียค่าเข้าชม…. ไม่อยากบอกเลยว่า แค่นี้ก็รู้สึกดีเป็นบ้า… เป็นความรู้สึกซ่อนในเหลือบลึก ๆ ที่อยากจะได้อะไรที่มันฟรี ๆ กับเขาบ้าง

พิพิธภัณฑ์ที่นี่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก… ครอบครัวของมาร์ตินบอกพวกเราอย่างภาคภูมิใจ ตรงป้ายชื่อทางเข้ามีแท่งหินสกัดขนาดใหญ่ตั้งวางอยู่… สะดุดตาตั้งแต่เห็น และราวจะประกาศให้ผู้มาเยือนเตรียมตัวเตรียมใจว่าที่เห็นอยู่ตอนนี้ด้านนอก น่ะเป็นเพียงเศษเสี้ยวชิ้นเล็ก ๆ ของความเป็นมาของที่นี่ เมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์แล้วจะได้รู้

แท่งหินสกัดขนาดใหญ่คือ ตลาล็อค (Tlaloc) เทพเจ้าแห่งฝนของชาวแอซเทค เมื่อแรกที่ค้นพบนั้นจมดิน อยู่ไม่ไกลจากเม็กซิโก ซิตี้เท่าไหร่ ก่อนจะทำการขนย้ายมาตั้งวางที่นี่ เล่ากันว่าตอนที่ขนเทพเจ้าแห่งฝนเข้ามาในเมือง ฝนได้ตกเทลงมาอย่างหนัก ทั้งที่เมืองแล้งจัดมาเป็นเวลานาน ช่างบังเอิญเสียจริง

พิพิธภัณฑ์ ที่นี่ผิดคาดจากที่วาดภาพไว้ จากที่คิดว่าคงจะใช้เวลาเยือนเพียงชั่วแป๊ป กลับเนิ่นนานกว่าที่คิด ไว้อยู่มาก คงเป็นเพราะประวัติศาสตร์ของที่นี่มีที่มาที่ไปอย่างไร ได้รับการจัดแสดงอย่างดีเยี่ยม จากชนเผ่าโอลเมค (Olmecs) ชนเผ่ามายา (Maya) …กระทั่งถึงชนเผ่าแอซเทค (Aztecs) ทั้งหมดจัดแสดงเป็นห้อง ๆ แบ่งแยกยุคสมัยอย่างชัดเจน บริเวณชั้นล่างมีทั้งสิ้น 12 ห้อง แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมข องเม็กซิโกในยุคแรก ส่วนชั้นบนมี 10 ห้อง แสดงศิลปวัฒนธรรมยุคใหม่ วิธีการนำเสนอของเขาที่เรียงร้อยอย่างสอดคล้อง ทำให้ง่ายต่อการจินตนาการตาม และที่โปรดมาก ๆ คือ แต่ละห้องได้ทำการจำลองโบราณสถานที่เด่น ๆ สำคัญ ๆ ในยุคนั้น ๆ ไว้ในส่วนที่เป็นสวนเปิดด้านหลัง เป็นการช่วยเติมเต็มจินตนาการแก่ผู้มาเยือนให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น (อย่างมาก ๆ เลยทีเดียว)

อยู่เมืองไทยเคยเที่ยวพิพิธภัณฑ์กับเขาบ้างมั้ย? อดเอ่ยถามตัวเองไม่ได้ คำตอบคือ… กระดิกนิ้วได้ครั้งสองครั้งนิ้วก็แทบไม่ขยับแล้ว แหม… ก็แต่ละครั้ง ที่เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์น่ะ เดินลากเท้าไม่กี่ก้าวก็วนรอบจบกระบวนความ เดินออกมาแล้ว… ไม่เห็นจะน่าสนใจเท่าไหร่เลย

แต่คราวนี้ฉันกับยูลีมุ่งมั่นมา พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาของเม็กซิโก ซิตี้ แต่เช้า… เหตุเพราะโดนกล่อมโดยครอบครัวของมาร์ติน ทำนองว่ามาถึงเม็กซิโก ซิตี้แล้ว ไม่ได้เหยียบเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ของเขาละก็ เป็นความผิดแสนสาหัสที่ไม่ควรให้อภัยตัวเองไปอย่างยิ่ง โห… อะไรจะขนาดนั้น

พิพิธภัณฑ์ มานุษยวิทยาตั้งอยู่ในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ชื่อว่าจาปูเต็ลเพ็ค (Chapultepec) ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสวนสัตว์ และ ปราสาท อีกด้วย ฟังแค่นี้ก็คงจะรู้แล้วว่าเจ้าสวนสาธารณะชื่อแปลกนี้เป็นแหล่งพักผ่อนขนาด ใหญ่มหาศาลแค่ไหนสำหรับชาวเม็กซิกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ปัจจุบัน… หากเป็นเช่นนี้ตั้งแต่สมัยชาวแอซเทคแล้ว…. เห็นมั้ยว่าหนีไม่พ้นชาวแอซเทคอีกแล้ว จะหนีไปได้อย่างไร ในเมื่อชื่อแปลก ๆ ของสวนนี้เป็นภาษาชาวแอซเทค แปลว่า “ภูเขาตั๊กแตน”

วันแรกของปี ใหม่ ผู้มาเยือนพิพิธภัณฑ์ไม่ต้องเสียค่าเข้าชม…. ไม่อยากบอกเลยว่า แค่นี้ก็รู้สึกดีเป็นบ้า… เป็นความรู้สึกซ่อนในเหลือบลึก ๆ ที่อยากจะได้อะไรที่มันฟรี ๆ กับเขาบ้าง

พิพิธภัณฑ์ที่นี่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก… ครอบครัวของมาร์ตินบอกพวกเราอย่างภาคภูมิใจ ตรงป้ายชื่อทางเข้ามีแท่งหินสกัดขนาดใหญ่ตั้งวางอยู่… สะดุดตาตั้งแต่เห็น และราวจะประกาศให้ผู้มาเยือนเตรียมตัวเตรียมใจว่าที่เห็นอยู่ตอนนี้ด้านนอก น่ะเป็นเพียงเศษเสี้ยวชิ้นเล็ก ๆ ของความเป็นมาของที่นี่ เมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์แล้วจะได้รู้

แท่งหินสกัดขนาดใหญ่คือ ตลาล็อค (Tlaloc) เทพเจ้าแห่งฝนของชาวแอซเทค เมื่อแรกที่ค้นพบนั้นจมดิน อยู่ไม่ไกลจากเม็กซิโก ซิตี้เท่าไหร่ ก่อนจะทำการขนย้ายมาตั้งวางที่นี่ เล่ากันว่าตอนที่ขนเทพเจ้าแห่งฝนเข้ามาในเมือง ฝนได้ตกเทลงมาอย่างหนัก ทั้งที่เมืองแล้งจัดมาเป็นเวลานาน ช่างบังเอิญเสียจริง

พิพิธภัณฑ์ ที่นี่ผิดคาดจากที่วาดภาพไว้ จากที่คิดว่าคงจะใช้เวลาเยือนเพียงชั่วแป๊ป กลับเนิ่นนานกว่าที่คิด ไว้อยู่มาก คงเป็นเพราะประวัติศาสตร์ของที่นี่มีที่มาที่ไปอย่างไร ได้รับการจัดแสดงอย่างดีเยี่ยม จากชนเผ่าโอลเมค (Olmecs) ชนเผ่ามายา (Maya) …กระทั่งถึงชนเผ่าแอซเทค (Aztecs) ทั้งหมดจัดแสดงเป็นห้อง ๆ แบ่งแยกยุคสมัยอย่างชัดเจน บริเวณชั้นล่างมีทั้งสิ้น 12 ห้อง แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมข องเม็กซิโกในยุคแรก ส่วนชั้นบนมี 10 ห้อง แสดงศิลปวัฒนธรรมยุคใหม่ วิธีการนำเสนอของเขาที่เรียงร้อยอย่างสอดคล้อง ทำให้ง่ายต่อการจินตนาการตาม และที่โปรดมาก ๆ คือ แต่ละห้องได้ทำการจำลองโบราณสถานที่เด่น ๆ สำคัญ ๆ ในยุคนั้น ๆ ไว้ในส่วนที่เป็นสวนเปิดด้านหลัง เป็นการช่วยเติมเต็มจินตนาการแก่ผู้มาเยือนให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น (อย่างมาก ๆ เลยทีเดียว)


Copyright ©2011 kanakacha.blogspot.com